ประจำเดือนผิดปกติ
(Abnormal Uterine Bleeding)
ก่อนที่จะเข้าใจว่าประจำเดือนผิดปกติเป็นอย่างไรก็จำเป็นจะต้องเข้าใจว่าประจำเดือนปกติคืออย่างไรอาจสามารถอธิบายลักษณะการมีประจำเดือนที่ปกติประกอบด้วย 1. ความห่างของรอบประจำเดือนซึ่งมักจะห่างประมาณ 21 ถึง 35 วัน 2. ระยะเวลาที่มีประจำเดือนปกติจะอยู่ประมาณ 3-5 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน 3. ปริมาณประจำเดือนที่มาในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 80 cc ซึ่งในทางปฏิบัติคงไม่มีใครมาวัดแต่อาจสังเกตได้โดยลักษณะเลือดที่ติดผ้าอนามัยหากใช้ผ้าอนามัยไม่เกิน 3 ผืนต่อวันและไม่ชุ่มถือว่าประจำเดือนมาปริมาณปกติ ลักษณะประจำเดือนผิดปกติมักจะสังเกตได้จากรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ เช่น บางเดือนห่างบางเดือนที ประการที่ 2 คือประจำเดือนมาเกิน 7 วันและประการที่ 3 คือปริมาณเลือดที่มามากจนมีอาการเวียนศีรษะหน้ามืดเป็นลิ่มเลือดหรือหากมาน้อยก็เป็นจุดมาแค่ 1-2 วันแทบไม่ใช้ผ้าอนามัย |
การควบคุมการมีประจำเดือนเป็นกลไกที่น่าพิศวงสลับซับซ้อน เป็นการควบคุมที่เกิดจากสมองส่วน Hypothalamus ส่งสารสื่อประสาทมาควบคุมต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) จากนั้นจึงส่งฮอร์โมนมากระตุ้นการทำงานของรังไข่ และตัวรังไข่ก็สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนไปกระตุ้นการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้เกิดการมีประจำเดือนเป็นรอบๆดังที่สตรีทุกคนมีประสบการณ์อยู่ทุกเดือน อาการควบคุมของสมองต่อมใต้สมองรังไข่หรือตัวมดลูกผิดปกติไปก็จะทำให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือน |
สาเหตุของประจำเดือนผิดปกติ
สาเหตุของประจำเดือนผิดปกติ แบ่งออกเป็นแบบเป็นแต่กำเนิด (Primary) เรื่อ'พันธุกรรมหรือการพัฒนาการ และเป็นตอนโต (Secondary) หากเป็นแต่กำเนิดเข้าได้แก่กลุ่มเด็กที่จะต้องมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 11 ปีโดยเฉลี่ยซึ่งในช่วง 1-2 ปีแรกประจำเดือนอาจจะมากะปริบกะปรอยไม่สม่ำเสมอเป็นเรื่องปกติแต่หลังจากนั้นจะต้องมาปกติตรงเวลาสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ 1 เนื้องอกติ่งเนื้อ 2 ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด 3 การติดเชื้อ 4 อุบัติเหตุการฉีกขาด 5 ความผิดปกติของกลไกการควบคุมของสมองต่อมใต้ สมองและรังไข่ 6 ผลจากการใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ
|
การรักษาพยาบาลคงต้องเริ่มด้วยการตรวจร่างกายโดยละเอียด ตรวจภายใน อัลตร้าซาวด์ระบบมดลูกรังไข่ทางเดินปัสสาวะ การเจาะเลือดหาความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด และเช็คมะเร็งปากมดลูกรวมทั้งเชื้อไวรัส hpv และรักษาตามสาเหตุนั้นๆในกรณีหาสาเหตุไม่ได้ในชั้นต้นสูตินารีแพทย์อาจรอให้ยาปรับประจำเดือนรับประทานกลุ่มโปรเจสเตอโรนแต่ไม่ถือเป็นการรักษาที่สิ้นสุด |