มดลูกหย่อน
(Prolapsed Uterus)
มดลูกหย่อนคือส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีไม่ว่าจะเป็นปากมดลูก ตัวมดลูกซึ่งต้องอยู่ในตำแหน่งอุ้งเชิงกรานมีการเคลื่อนตัวต่ำลงมาทางช่องคลอดโดยระดับมากน้อยขึ้นอยู่กับการเสื่อมสภาพของ เอ็น และผังผืดที่ยึดปากมดลูกและมดลูกเอาไว้ ด้วยระดับการหย่อนตัวของปากมดลูกและมดลูกจะแบ่งกันตรงปากช่องคลอดเป็นหลัก รวมทั้งการคืนตัวกลับไปเองหรือจะต้องใช้มือดันกลับเข้าไป |
ปกติแล้วนอกเหนือจากเอ็นที่ยึดโยงอวัยวะภายในสตรีแล้วยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และแรงดันภายในช่องท้องเข้ามาเกี่ยวพันด้วยดังนั้นหากกล้ามเนื้ออ่อนแรงซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเพศลดลงทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานลดหย่อนลงหากร่วมกับมีแรงดันภายในช่องท้องเพิ่มขึ้นเช่น ท้องอืดแน่นท้องย่อยไม่ดี มีการเบ่งมีการยกของหนักๆก็ยิ่งเป็นปัจจัยเสริมทำให้ตัวอวัยวะสืบพันธุ์สตรีคือมดลูกปากมดลูกหย่อนคล้อยลงมาได้ |
ปัจจัยเสี่ยงและการแบ่งระยะความรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมดลูกประกอบด้วย 1. อายุหรือภาวะวัยทอง 2. การคลอดบุตรทางช่องคลอดไม่ว่าจะเป็นกรณีคลอดยากเบ่งนานหรือมีการคลอดบุตรหลายคนทางช่องคลอดก็ทำให้เกิดการฉีกขาดได้ 3. ภาวะหรือกิจกรรมที่ทำให้มีความดันในช่องท้องสูง ท้องผูก 4. พันธุกรรมเป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนแรง |
เราสามารถแบ่งระยะหรือความรุนแรงของมดลูกหย่อน เป็นระยะดังนี้ เกรด 0 คืออยู่ในตำแหน่งปกติ เกรด 1 ส่วนปากมดลูกเคลื่อนต่ำลงมาเกือบจะ ถึงเยื่อพรหมจารี เกรด 2 ส่วนของปากมดลูกเริ่มต่ำลงมาถึงเยื่อ พรหมจารี เกรด 3 ส่วนของปากมดลูกเคลื่อนต่ำลงมากว่า เยื่อพรหมจารี เกรด 4 ตัวมดลูกเคลื่อนต่ำลงมาพ้นเยื่อ พรหมจารี |
อาการที่พบจากปัญหามดลูกหย่อน
อาการที่พบจากปัญหามดลูกหย่อน ได้แก่ 1 มีก้อนโผล่ออกจากช่องคลอดโดยอาจจะหายไปเองหรือต้องเอามือดันกลับเข้าไป 2 ปวดหน่วงท้องน้อย 3 เดินลำบากเนื่องจากมีก้อนโผล่ออกมาจากช่องคลอด 4 มีแผลเลือดออกจากส่วนที่ยื่นออกมาจากช่องคลอด 5 ปัสสาวะลำบากเช่นปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไอจามปัสสาวะเล็ด 6 อาการร่วมจากอวัยวะข้างเคียงเช่นท้องผูกถ่ายเป็นเลือดถ่ายลำบาก |