วัยทอง
![]() | วัยทอง เป็นคำนิยามของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทดแทนคำว่าวัยหมดระดู หรือวัยขาดประจำเดือน Menos = month Pause = stop สามารถแบ่งวัยทองออกเป็นระยะๆ เป็นขั้นบันได Climacteric = ladder ประกอบด้วย 1 Premenopause Perimenopause อาจเรียกได้ว่าเป็นวัยใกล้หมดฤดูวัยนี้มีความสำคัญมากเพราะประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมออาจกินเวลาหลายปีโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 8 ปีแล้วแต่ราย การเปลี่ยนแปลงที่พบได้ มี 2 ปัญหาหลักๆ คือ 1 ระบบสืบพันธุ์ของสตรี 2 อาการที่สัมพันธ์กับการขาดประจำเดือน |
ระบบสืบพันธุ์ของสตรี
1. ปริมาณไข่ในรังไข่ลดลงอย่างรวดเร็ว 2. ต่อมใต้สมองและสมองไฮโปทาลามัสมีการทำงานเพิ่มขึ้นระดับ FSH และ LH เพิ่มขึ้นในช่วง 20-30 ปีหลังจากหมดประจำเดือนหลังจากนั้นจะค่อยๆลดลง แต่ยังมีการทำงานเป็นจังหวะๆ เหมือนเดิม 3. รังไข่ลดการทำงานลงอย่างมากแต่ไม่ได้หยุดโดยสิ้นเชิงยังคงสามารถผลิต DHEA / Androstenenedione และ Testosterone ได้อยู่ดังนั้นจะพบว่าถึงแม้ปริมาณเอสโตรเจนจะลดลงจาก 40 ถึง 400 pgm ลดลงเหลือ 10-20 pgm เท่านั้น นอกจากนั้นอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้เอสโตรเจนเปลี่ยนเป็นเอสโตรนเพิ่มขึ้นด้วยปัญหาสุขภาพที่เกิดตามมาจากการขาดเอสโตรเจน | ![]() |
อาการที่สัมพันธ์กับการขาดประจำเดือน
![]() | อาการที่สัมพันธ์กับการขาดประจำเดือนจะหงุดหงิด อ่อนเพลีย ซึมเศร้าปวดศีรษะ หลงลืม น้ำหนักขึ้น นอนไม่หลับ ปวดตามข้อตามกล้ามเนื้อ ใจสั่น น้อยใจง่าย ปัสสาวะลำบาก ท้องผูก ความต้องการทางเพศลดลง - อาการร้อนวูบวาบ Hot Flush (Vasomotor Symptom) ส่วนใหญ่จะหายไปเองภายใน 1-2 ปี ยังพบว่าร้อยละ 25 จะหมดไปภายใน 5 ปี - อาการทางจิตใจ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป ขาดสมาธิในการทำงาน กระวนกระวาย หลงลืม หงุดหงิด กลุ่มอาการเหล่านี้นี้เกิดจากการลดความไวต่อ Dopamine receptor - อาการเกี่ยวกับความจำและความจำเสื่อม (Cognition & Alzhemeir) - Atrophic conditions ผิวหนังจะเหี่ยวแห้งและบางลง คัน เล็บเปราะแตกง่าย ผมร่วงเกิดจากการสูญเสียของคอลลาเจนและอีลาสติน 30% ใน 10 ปีแรกซึ่งการให้เอสโตรเจนทดแทนก็จะสามารถคืนกับสู่ระดับก่อนวัยทองได้ภายใน 12 เดือน คันปากช่องคลอด ผื่นแห้งอักเสบ Lichen sclerosus |
- ปัญหาสุขภาพระยะยาว โรคหลอดเลือดหัวใจ และ กล้ามเนื้อหัวใจตาย เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนระดับ LDL ในเลือดจะเพิ่มขึ้น ปกติระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะช่วยควบคุมอัตราส่วน HDL : LDL ให้อยู่ในระดับที่ HDL สูงกว่า LDL แต่เมื่อขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนอัตราส่วน LDL จะสูงขึ้นอย่างชัดเจน เอสโตรเจนมีผลดีต่อหลอดเลือดหัวใจที่ปกติช่วยป้องกันplaque ที่เกาะที่เส้นเลือดหัวใจได้แต่ในกรณีที่เป็นโรคหัวใจไปแล้วอาจจะไม่มีข้อดีและอาจจะทำให้เกิดการอักเสบเพิ่มมีรายงานหลายที่ยังมีข้อขัดแย้งยังไม่สามารถสรุปได้ นอกจากนั้นเอสโตรเจนยังมีผลต่อภาวะ Metabolic syndrome ซึ่งจะประกอบด้วยกลุ่มอาการความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง HDL Cholesterol อ้วนลงพุง ระดับน้ำตาล Fasting สูง การออกกำลังกายถือเป็นวิธีป้องกันหลักสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตายโดยควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 2-3 วัน ภาวะกระดูกพรุน ภาวะวัยทองมีผลต่อเกลือแร่ของกระดูกลดลงปกติมวลกระดูกจะสูงสุดที่อายุ 30-40 ปีหลังจากนั้นจะลดลงเรื่อยๆช้าๆตำแหน่งกระดูกที่มักจะหักและพบบ่อยได้แก่กระดูกท่อนแขนนอกกระดูกสันหลังและกระดูกสะโพกต้นขา OSTA index =0.2 x Body weight (kg) - อายุ (ปี) ถ้า < -1 ควรรับการตรวจ BMD การป้องกันกระดูกพรุนโดยการให้แคลเซียมในสตรีก่อนหมดประจำเดือน ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มก. แต่ในสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนต้องการแคลเซียมวันละ 1,200 มก.และ 1,500 มก. ในสตรีหลังหมดประจำเดือนหรือวัยทองนอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีการออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการสร้างและสะสมแคลเซียมเป็นลักษณะ Weight Bearing Exercise นอกจากนั้นยังมียาในกลุ่มเสริมสร้างกระดูกได้แก่กลุ่ม Bisphosphonate | ![]() |
![]() | - การวินิจฉัยภาวะวัยทอง ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรือใช้ผลทางห้องทดลองพิเศษใช้อาการโดยรวมประกอบที่สำคัญที่สุดคืออาการหมดประจำเดือนนั่นเอง โดยเงื่อนไขคือการหมดประจำเดือนอย่างน้อย 1 ปีและ มีอาการร่วมด้วยตามที่กล่าวข้างต้นหากมีการหมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปีก่อนกำหนดอาจจำเป็นต้องใช้การตรวจระดับ FSH และ Estradiol |
การดูแลรักษาสตรีวัยทอง
การดูแลรักษาโดยไม่ใช้ฮอร์โมน
การรักษาแบบพื้นฐาน อาหาร - ควรเลือกรับประทานอาหารกากใยสูง เช่น ผักใบเขียวผลไม้ที่มีเส้นใย อาจพิจารณารับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองซึ่งมีปริมาณเอสโตรเจน - รับประทานโปรตีนประเภทที่ย่อยง่ายเช่นจากปลา หลีกเลี่ยงโปรตีนจากเนื้อแดงเช่นหมูวัว - รับประทานไขมันในปริมาณต่ำลงและ หลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันที่มีการปรุงแต่งหรือผ่านความร้อนเช่น transform fat ของทอดของปิ้งย่าง - หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวาน คาร์โบไฮเดรตสูง - หลีกเลี่ยงการรับประทานเค็ม low salt Diet - งดดื่มสุราแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ | ![]() |
![]() | การออกกำลังกาย - ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นลักษณะออกกำลังกายแบบแอโรบิคครั้งละประมาณ 30 นาทีโดยออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง - ลักษณะการออกกำลังกายควรเป็นลักษณะการยืดหยุ่นและการทรงตัวเช่น โยคะ รำมวยจีน pilates เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายป้องกันปกป้องการรับแรงกระแทก |
การตรวจเช็คสุขภาพ - ควรตรวจร่างกายประจำปีได้แก่ ความดัน ส่วนสูง BMI ตรวจร่างกายทั่วไป - ตรวจเต้านมปีละครั้ง - ตรวจภายใน เช็คมะเร็งปากมดลูก อัลตร้าซาวด์อย่างน้อยปีละครั้ง - ตรวจเลือดดูระดับน้ำตาล ไขมัน การทำงานของตับ การทำงานของไตปีละครั้ง - ตรวจความหนาแน่นของกระดูก 2-3 ปีครั้ง | ![]() |
การให้ฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยทอง
![]() | ข้อบ่งชี้ในอดีตมีข้อบ่งชี้มากมายแต่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 2 ประการหลัก 1. ลดอาการพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน ประกอบด้วยอาการกลุ่ม ร้อนวูบวาบ หงุดหงิด นอนไม่หลับ (Vasomotor Symptom) และ อาการกลุ่มทางเดินปัสสาวะ (GSM) ได้แก่ - ปัสสาวะเล็ด - อาการคันที่ปากช่องคลอด - ช่องคลอดหย่อนและมดลูกหย่อน - กลั้นอุจจาระไม่อยู่ - ช่องคลอดแห้งตกขาวผิดปกติ - มีเพศสัมพันธ์แล้วเจ็บและมีเลือดออก - สมรรถนะทางเพศลดลง 2. ป้องกันกระดูกพรุน |
การใช้ฮอร์โมนอาจแบ่งเป็น 2 แบบ
A Conventional MHT คือการให้ฮอร์โมนที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งอาจจะมีโปรเจสเตอโรนหรือไม่มีก็ได้ ลักษณะฮอร์โมนที่ใช้อาจเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนหรืออนุพันธ์ของ เอสโตรเจนก็ได้ซึ่งอาจเป็น natural estrogen /synthetic estrogen เอสโตรเจน 3 ฟอร์มเรียงลำดับความแรงจากมากไปน้อย Estradio; (E2) → Estrone(E1) → Etriol(E3) เอสโตรเจนที่เลือกใช้อยู่เป็นเอสโตรเจนที่อยู่ในรูป Sex Steroid ไม่ควรเลือกใช้เอสโตรเจนที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น stilbestrol หรือ dinoestrol การใช้เอสโตรเจนสามารถใช้ได้ใน 3 ลักษณะ - การรับประทาน - การทาผิวหนัง - การฉีดเข้ากล้าม | ![]() |
![]() | Phytoestrogen เป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนพบในพืชมีอยู่มากมายซึ่งมีผลต่อการลดอาการไวหมดฤดูโดยเฉพาะอย่างยิ่งร้อนวูบวาบ ส่วนผลดีในด้านอื่นยังมิได้มีวิธีวิจัยพิสูจน์เป็นหลักฐานชัดเจน เช่น ปัญหาเยื่อบุช่องคลอดแห้ง ปัญหากระดูกพรุน และการป้องกันโรคหัวใจยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่อาจมีข้อเสียในกรณีประจำเดือนผิดปกติ และอาจมีผลในกรณีมีเนื้อร้าย เช่นเนื้องอกเต้านม เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ มะเร็งปากมดลูก สมุนไพรไทยที่พบ Phytoestrogen ได้แก่ ว่านชักมดลูก กวาวเครือ ชะเอม จันทร์แดง เทียนดำ หญ้าฟันงู ฉัตรหมดฤดู ราชพฤกษ์ เอื้องหมายนา หญ้าแห้วหมู เถาวัลย์เปรียง น้ำนมราชสีห์ ละหุ่ง โคกกระสุน หญ้าแพรก แมงลักคา เข็มพวงขาว ลูกหว้า คนทีเขมา ส้มกุ้ง ดาวเรืองฝรั่ง ส่วนอาหารตะวันตก ได้แก่ โกโก้ ยูคาลิปตัส ในปัจจุบันมีการนำมาจำหน่ายในรูปอาหารเสริมแต่ยังไม่มีการวิจัยหรือตำรับยาแน่ชัดว่าปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสมมีข้อเสียหรือไม่ |