ปวดท้องน้อย


2024-10-28 15:05:55


ปวดท้องน้อย

(Pelvic Pain)





     การปวดท้องน้อย หมายถึงการปวดอุ้งเชิงกราน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากระบบสืบพันธุ์สตรีหรืออวัยวะระบบอื่นที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานก็ได้รวมทั้งการปวดจากบริเวณอื่นที่มีเส้นประสาทเลี้ยงเส้นเดียวกัน   สาเหตุการปวดอุ้งเชิงกรานที่พบบ่อยมี 5 ข้อหลักๆ ดังนี้

     1. การปวดประจำเดือน 

     2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 

     3. ก้อนในอุ้งเชิงกราน  

     4. การบิดขั้วและการแตกของถุงน้ำรังไข่ 

     5. อุ้งเชิงกรานอักเสบ





นัดพบแพทย์


การรักษา





สาเหตุการปวดท้องน้อย





1.การปวดประจำเดือน


     การมีประจำเดือนเมื่อระดับเอสโตรเจนสูงขึ้นจะมีการพัฒนาโครงสร้างของเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาตัวขึ้นมีการผลิตสารที่จำเป็นสำหรับการเจริญ และพัฒนาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดมีการหนาตัวขึ้นของเยื่อบุโพรงมดลูกเส้นเลือดขยายตัวขึ้นหนาตัวขึ้น และเมื่อมีการตกของไข่ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมต่างๆ ที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารคัดหลั่งหากไม่มีการตั้งครรภ์ระดับโปรเจสเตอโรนจะลดลงจะทำให้เกิดกระบวนการอัพ regulation ของ matrix metalloprotinease enzyme MMPs  ทำหน้าที่ย่อยคอลลาเจนและอิลาสตินใน Extra Cellular Matrix ทำให้ มีการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาพร้อมๆ กันเกิดเป็นraw  surface  และมีเลือดออกประมาณ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะมีการซ่อมแซมกระบวนการต่างๆ โดยมีการควบคุมของต่อมไร้ท่อไม่ว่าจะเป็น Endocrine Paracrine และ Autocrine ทำให้เลือดหยุดไหลเกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดมีเกล็ดเลือดไปอุดตัน ในกระบวนการนี้มีการหลั่งของ posta grandin ทำให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกอย่างรุนแรงได้จึงมีอาการปวดวิธีรักษาอาจจะใช้การประคบน้ำอุ่นหรือหากรุนแรงจริงๆอาจจะเป็นต้องยับยั้งการหลั่งของ posta grandin ได้แก่การกินยากลุ่ม Antiprostraglandin  ที่เรารู้จักกันดีในนาม Mefenamic acid









2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่


     หากเปรียบเทียบมดลูกเหมือนลูกมะพร้าวก็จะประกอบด้วยชั้นนอกชั้นกล้ามเนื้อตรงกลางเหมือนกะลามะพร้าวและเนื้อมะพร้าวหรือเยื่อบุโพรงมดลูก ปกติเมื่อมีรอบเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาตัวขึ้นและมีการลอกหลุดออกเป็นประจำเดือนออกทางปากมดลูกและช่องคลอด ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุว่ากลไกเป็นอย่างไรพบว่าเยื่อบุโพรงมดลูกนั้นมีการย้อนกลับไปที่ปีกมดลูกและเข้าไปตกที่ช่องทองทำให้เกิดภาวะที่รู้จักกันดีคือช็อกโกแลตซีส 

     ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มีอีกภาวะนึงซึ่งไม่ได้ออกนอกตัวเนื้อมดลูกแต่เป็นการแทรกตัวไปในชั้นกะลามะพร้าวหรือกล้ามเนื้อมดลูกศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Adenomyosis เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกในรอบประจำเดือนต่อไปก็จะมีการหนาตัวพองตัวของเยื่อบุโพรงลูกที่ไปอยู่ในอุ้งเชิงกรานหรือที่ไปแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูกทำให้มีการปวดมีตกเลือดมีเลือดออก และมีการสะสมของเยื่อบุโพรงมดลูกที่อยู่ผิดที่ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อมดลูกหรือในช่องท้องขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละรอบเดือนทำให้เกิดปัญหาหลักๆ ดังนี้

     1  อาการปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในแต่ละรอบเดือน

     2  มีก้อนอยู่ที่ปีกมดลูกหรือรังไข่เป็นลักษณะช็อกโกแลตซีส 

     3  มีเนื้อเยื่อผังผืดทำให้เกิดปัญหาการขยายตัวของกระเพาะปัสสาวะลำไส้ทำให้เกิดปัสสาวะบ่อยหรือแม้แต่ลำไส้อุดตัน 

     4  ทำให้เกิดรังไข่บิดเบี้ยวหรืออุดตันเป็นปัญหาของภาวะมีบุตรยาก

      5 ในกรณีที่แทรกอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูกจะทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงหรือมีประจำเดือนผิดปกติหรือมดลูกโต







     การรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มาตรฐานการรักษาหลักคือการให้ฮอร์โมนกลุ่มต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่ว่าจะเป็นการให้ progesterone หรือให้ฮอร์โมนที่กดการกระตุ้นให้รังไข่โต เช่น กลุ่ม GnRH ซึ่งมีผลทำให้ เกิดภาวะวัยทองเทียมคือกดให้เหมือนเป็นวัยทองอาจมีอาการร้อนวูบวาบผิวหนังเหี่ยวแห้ง จะใช้การรักษาเช่นนี้ประมาณ 1-2 ปี และติดตามผลการรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI โดยติดตามการรักษาทุก 3-6 เดือนอาการไม่ดีขึ้นอาจจำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด











3. ก้อนในอุ้งเชิงกราน


     อาการส่วนใหญ่ที่พบเจอมักจะมาด้วยบังเอิญพบในขณะที่มาตรวจร่างกายประจำปีไม่บ่อยที่จะคลำก้อนได้เอง หรือมีเลือดออกผิดปกติหรือมีไข้อาการอื่นร่วมด้วยอาจจะเป็นอาการปวดกระเพาะอย่างยิ่งการตรวจประจำเดือน ก้อนในอุ้งเชิงกรานอาจแยกแยะเป็นกลุ่มได้ดังนี้

      1.  เนื้องอกมดลูก ส่วนใหญ่หากไม่มีอาการเลือดออกผิดปกติมักจะเป็นเนื้องอกมดลูกธรรมดาเป็นเนื้องอกของเอ็นกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งมักจะไม่ใช่มะเร็งหรือเนื้อร้าย แต่หากมีอาการเลือดออกผิดปกติมดลูกมีขนาดใหญ่ มีการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกอาจพิจารณาเรื่องของเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว มีโอกาสเสี่ยงเกิดมะเร็งได้ประมาณ 10% การรักษาคงขึ้นอยู่กับลักษณะการโตของแต่ละรูปแบบ แน่นอนครับการรักษาส่วนใหญ่มักจะจบด้วยกันผ่าตัด การให้ฮอร์โมนเพื่อรักษาหรือให้ยา มักไม่ค่อยช่วยให้ยุบลงส่วนการพิจารณาตัดเนื้องอกมดลูกหรือไม่ อาจพิจารณาจากภาวะข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้แก่  

         1.1 ตกเลือดมาก  

         1.2 มีอาการปวดท้องน้อยมาก  

         1.3 ขนาดเนื้องอกโตเร็ว  

         1.4 แม้จะไม่โตแต่มีการไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียงเช่นกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อปัสสาวะบ่อยก็เป็นข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

     2. เนื้องอกรังไข่ การตรวจมักจะพึ่งพาการตรวจภายในประจำปีเป็นการเช็คมะเร็งปากมดลูก การอัลตร้าซาวด์หากกรณีเจอก้อนอาจจำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เช่น CA125 , CA19-9 , AFP ,  beta Hcg  HE4 CEA  Inhibin PALP

การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการแยกว่าก้อนนั้นเป็นก้อนที่เกิดจากถุงไข่ที่โตเพื่อเตรียมตกไข่หรือเป็นภาวะเนื้องอก หากเป็นภาวะถุงน้ำรังไข่ที่เกิดจากไข่มักจะรอดูอาการ อาจให้รับประทานยาคุม เพื่อลดการตกของไข่ แต่หากไม่ใช่ถุงน้ำเป็นก้อนทึบหรือก้อนทึบสลับถุงน้ำอาจพิจารณาผ่าตัดเป็นอันดับแรก






     3. ปีกมดลูกอักเสบหรือบวมเป็นถุงน้ำ  พบไม่เยอะส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องการอักเสบจากการระคายเคืองซึ่งมักจะเป็นเรื่องของการติดเชื้อ หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่โอกาสเป็นเนื้อร้ายไม่เยอะสุดท้ายที่ต้องคำนึงถึงคือภาวะท้องนอกมดลูก การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการให้ยาแยกรักษาตามสาเหตุ เช่น กรณีเป็นการติดเชื้อก็คงต้องให้ยาปฏิชีวนะ กรณีเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ก็ต้องให้ฮอร์โมนกด  ยกเว้นกรณีท้องนอกมดลูกอาจจำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งก็มีทางเลือกเช่นให้ยา Metrotrexate ทำให้การตั้งครรภ์นอกมดลูกฝ่อไป 

     4. เนื้องอกของอวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ เส้นเลือดในอุ้งเชิงกราน การตรวจรักษาคงเป็นการตรวจภายในร่วมกับการทำอัลตร้าซาวด์หรือคลื่นเสียงแม่เหล็กไฟฟ้า และให้การรักษาก็คงต้องขึ้นกับชนิดของเนื้องอกที่เป็นและแนวทางการรักษาของอวัยวะนั้นๆ











4. การบิดขั้วและการแตกของถุงน้ำรังไข่ 


     เกิดจากภาวะที่มีถุงน้ำหรือมีก้อนเนื้องอกของปีกมดลูกรังไข่ซึ่งอยู่ในขณะที่เหมาะสมที่จะบิดขั้วหรือแตกได้ โดยส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตรเป็นต้นไป จนถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตรเป็นขนาดที่เหมาะสมที่จะเกิดการแตกหรือการบิดขั้ว ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะฉุกเฉินดังนั้นอาจมีการตรวจร่างกายตรวจภายในประจำปี และพบว่ามีซีสต์หรือถุงน้ำควรจะเร่งดำเนินการรักษา  ส่วนใหญ่สูตินรีแพทย์จะเลือกให้ รับประทานยาคุมหรือการใช้ฮอร์โมนเพื่อกดให้ขนาดลงหากติดตามผลการรักษาแล้วขนาดของซีสไม่เล็กลง  อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะฉุกเฉินทางนรีเวชคือการบิดขั้วหรือแตกของถุงน้ำรังไข่









5. อุ้งเชิงกรานอักเสบ 


     เป็นการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีตั้งแต่ เยื่อบุโพรงมดลูก ปีกมดลูก รังไข่หรือการอักเสบในช่องท้องอุ้งเชิงกรานสาเหตุก่อโรคส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื้อที่พบส่วนใหญ่มักจะเป็นเชื้อหนองในแท้ Neiseria gonorrhea และหนองในเทียม Chlamydia trachomatis

     อาการที่เกิดขึ้นมักจะมีอาการปวดท้องน้อย มีไข้ กดเจ็บบริเวณท้องน้อยหรือท้องแข็งหากมีการอักเสบรุนแรงอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยต้องประกอบด้วยการตรวจภายใน เจาะเลือดจะพบว่ามีเม็ดเลือดขาวขึ้นในปริมาณสูง โยกปากมดลูกเจ็บท้องแข็งจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลให้น้ำเกลือและให้ยาปฏิชีวนะทั้งเส้นเลือด







นัดพบแพทย์


การรักษา










Copyright ® 2019 ketshopweb.com 

VAGI CLINIC

คลินิกเฉพาะทางด้านสูตินรีเวช


ติดต่อเรา / Contact Us

3230 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

: 02 319 2525
 https://www.facebook.com/vagiclinic
 :
vagiclinic

LINE  @vagi

 



สาขาที่ให้บริการ


สาขาเพชรบุรีตัดใหม่

สาขาสยามสแควร์







เว็บไซต์ในเครือ


Medicare Clinic


Medicare Cosmetics